กิจกรรม 15-19 พฤศจิกายน 2553

อธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้ง 3 กลุ่ม (ผู้ผลิต - ผู้บริโภค  - ผู้ย่อยสลาย) ในระบบนิเวศจะมีการถ่ายเทพลังงาน
เป็นทอดจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค การไหลเวียน การถ่ายทอดพลังงานเป็นทอดๆ นี้ เรียกว่า ห่วงโซ่อาหาร (food chain)
ที่มาของข้อมูล  http://www.ecosystem.ob.tc/w1.html
อธิบาย กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง [ Photosynthesis] เป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกันเป็นลำดับที่ชั้นพาลิเสดเซลล์ของพืชโดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ที่คลอโรพลาสต์ในเซลล์พืชรับมาเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรเจนจากน้ำหรือแหล่งไฮโดรเจนอื่น ๆ ให้กลายเป็นสารประกอบประเภทคาร์โบไฮเดรทและมีก๊าซออกซิเจนเกิดขึ้น เป็นออร์แกเนลล์ชนิดหนึ่งในเซลล์พืช ภายในคลอโรพลาสต์มีคลอโรฟิลล์เป็นองค์ประกอบ ซึ่งสามารถดูดกลืนพลังงานจาก ดวงอาทิตย์ มาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง คลอโรพลาสต์ในพืชชั้นสูงจะมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือกลมรีขนาดยาวประมาณ 5 ไมครอน กว้าง 2 ไมครอน หนา 1-2 ไมครอน มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ภายในประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ Stroma และ Lamella
ที่มาของข้อมูล  http://variety.teenee.com/science/1755.html
อธิบาย    คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) คือสารประกอบที่เกิดจาก คลอรีน (Cl) ฟลูออรีน (F) และคาร์บอน (C) ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากหลายกรณีเช่น การปล่อยควันพิษของโรงงาน โดยเรายังจะสามารถพบสารนี้ได้ในตู้เย็นของเรา หรือแม้แต่ในสเปรย์ทุกชนิด ฉะนั้น การใช้สเปรย์จึงเป็นการสร้างสาร CFC โดยสาร CFC นี้ มีความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมาก เพราะว่าสาร CFC สามารถที่จะทำลายชั้นโอโซน ทำให้ชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่ ทำให้รังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) สามารถแผ่เข้ามาสู่ผิวโลกได้อย่างเข้มข้นขึ้น ทำให้โลกมีอุณหภูมิที่ร้อนจัด และทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนังในคน พื้นดินจะกลายเป็นทะเลทราย เกิดภาวะน้ำแล้ง จนในที่สุด โลกก็จะถูกทำลาย และสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิดจะสูญพันธุ์
ที่มาของข้อมูล  http://www.tpfria.or.th/index.php/Cfc.html

อธิบาย ไวรัสจัดเป็นจุลินทรีย์ที่มีโครงสร้างแบบง่ายๆไม่ซับซ้อน ไวรัสที่มีส่วนประกอบครบสมบูรณ์เรียกว่าวิริออน (virion) ซึ่งจะประกอบด้วยแกนกลาง (core) ของกรดนิวคลิอิกซึ่งเป็น RNA หรือ DNA และมีโปรตีนหุ้มล้อมรอบเพื่อป้องกันกรดนิวคลิอิก โปรตีนที่หุ้มนี้เรียกว่าแคพซิด (capsid) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยย่อยเรียกว่าแคพโซเมอร์ (capsomer) กรดนิวคลิอิกและโปรตีนที่หุ้มนี้เรียกว่า นิวคลีโอแคพซิด (nucleocapsid)
ที่มาของข้อมูล http://th.wikipedia.org/wiki 
อธิบาย  ผนังเซลล์ (Cell wall) คือ ชั้นที่ล้อมเซลล์ซึ่งอยู่ถัดจากชั้นของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่เป็นตัวค้ำจุนโครงสร้าง ปกป้องเซลล์ และกลไกคัดกรองสาร ผนังเซลล์ยังมีหน้าที่ป้องกันการขยายตัวมากเกินไปหากน้ำไหลผ่านเข้าสู่ภายในเซลล์ มักพบอยู่ในพืช แบคทีเรีย อาร์เคีย เห็ดรา สาหร่าย แต่ไม่พบในสัตว์และโพรทิสต์
นิวเคลียสคือ เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelope) ซึ่งเป็นเยื่อสองชั้นที่หุ้มทั้งออร์แกเนลล์และทำหน้าที่แยกองค์ประกอบภายในออกจากไซโทพลาซึม (cytoplasm) อีกโครงสร้างหนึ่งคือ นิวเคลียร์ลามินา (nuclear lamina) ซึ่งเป็นโครงสร้างร่างแหภายในนิวเคลียส ทำหน้าที่เป็นโครงร่างค้ำจุน ให้ความแข็งแรงแก่นิวเคลียส คล้ายไซโทสเกลเลตอน (cytoskeleton) ภายในเซลล์ เนื่องจากเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่านที่โมเลกุลส่วนใหญ่ผ่านทะลุเข้าออกไม่ได้ ดังนั้นเยื่อหุ้มนิวเคลียสจึงต้องมีนิวเคลียร์พอร์ (nuclear pore) หรือช่องที่จะให้สารเคลื่อนผ่านเยื่อ
ที่มาของข้อมูล   http://th.wikipedia.org/wiki
อธิบาย  สารละลายไอโซโทนิก (Isotonic solution)หมายถึง ความเข้มข้นของสารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงเท่ากับความเข้มข้น
ของสารละลายภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้การออสโมซิสของโมเลกุลของนํ้าเข้าสู่
เซลล์เม็ดเลือดแดง และออกจากเซลล์เม็ดเลือดมีค่าเท่ากัน ทำให้ขนาดของเซลล์ไม่เปลี่ยนแปลง
         สารละลายที่เป็นไอโซทอนิกกับเซลล์เม็ดเลือดแดงคือ น้ำเกลือ 0.85 %
สารละลายไฮโพโทนิก (Hypotonic solution)หมายถึง สารละลายภายนอก เซลล์เม็ดเลือดแดงมีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายภายใน
เซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้นํ้าภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง
เป็นผลทำให้ซลล์เม็ดเลือดแดงเต่งขึ้น ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนที่ออกจากเซลล์เหมือนกันแต่
น้อยกว่าเคลื่อนที่เข้าเซลล์ ผลจากการที่น้ำออสโมซิสเข้าเซลล์แล้วทำให้เซลล์เต่ง
เรียกว่า plasmoptysis
        ในเซลล์พืชจะมีผนังเซลล์ที่หนา แข็งแรง ถึงเกิดแรงดันเต่งมาก ๆ ผนังเซลล์ก็ยังต้านทานได้
เรียว่า wall pressure แรงดันเต่งช่วยให้เซลล์พืชรักษารูปร่างได้ดี เช่น ใบกางได้เต็มที่ ยอดตั้งตรง
สารละลายไฮเพอร์โทนิก (Hypertonic solution)หมายถึง สารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดง มีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายภายใน
เซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นผลทำให้น้ำภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสออกนอกเซลล์ เป็นผล
ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเหี่ยวลง ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนเข้าเซลล์เหมือนกันแต่น้อยกว่าออก
ผลจากการที่เซลล์ลดขนาด เหี่ยวลงเนื่องจากเสียน้ำ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า plasmolysis
ที่มาของข้อมูล  http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/45/2/cell/content/osmosis2.html

อธิบาย  การแพร่สารแบบฟาซิลิเทต (Facilitated Diffusion) คือการลำเลียงสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารสูงไปจนถึงบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำ แต่ต้องอาศัยตัวพาเป็นตัวกลาง (Carrier) ในการแพร่ ซึ่งมักเป็นสารจำพวกโปรตีนที่มีโมเลกุลขนาดเล็กเช่นกรดอะมิโนซึ่งพบได้ในเยื่อหุ้มเซลล์ รวมถึงน้ำตาลกลูโคส, คาร์บอเนตและไบคาร์บอเนต การแพร่แบบนี้ใช้การเคลื่อนที่แบบบราวนิงในการแพร่
การแพร่แบบฟาซิลิเทตไม่ต้องการพลังงานในการแพร่ตรงกันข้ามกับการลำเลียงสารแบบแอคทีฟทรานสปอร์ตที่ต้องใช้พลังงาน
 ที่มาของข้อมูล  http://th.wikipedia.org/wiki/
อธิบาย  โปรตีนหลายชนิดทำหน้าที่เป็นเอนไซม์หรือหน่วยย่อยของเอนไซม์
โปรตีนทำหน้าที่ทางด้านโครงสร้าง เช่น ระบบเส้นใยของเซลล์ (cytoskeleton) ผม เส้นไหม
โปรตีนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เช่น แอกติน ไมโอซิน
เป็นภูมิคุ้มกันคอยปกป้องร่างกายจากสิ่งแวดล้อม เช่น แอนติบอดี
ขนส่งสารภายในระบบร่างกาย เช่น ฮีโมโกลบิน
เป็นแหล่งสำรองพลังงานยามขาดแคลน เช่นโปรตีนในเมล็ดข้าวและน้ำนม
โปรตีนที่เป็นฮอร์โมน
โปรตีนให้ความหวานในพืช
โปรตีนป้องกันการแข็งตัวของเลือดในปลาที่อยู่ในแถบขั้วโลก
โปรตีนช่วยสร้างเซลล์เนื้อเยื่อใหม่
 ที่มาของข้อมูล  http://th.wikipedia.org/wiki
อธิบาย   ลูกฟุตบอล เป็นต้น
ผิวหนัง คือ สิ่งภายนอกที่ปกคลุมคอยป้องกันร่างกายของสัตว์จากเชื้อโรค ผิวหนังมีหลายชนิดในสัตว์ที่แตกต่างกันไป สัตว์หลายชนิดมีขนปกคลุมที่ผิวหนัง เช่น สุนัข หมี กระรอก หนู เป็นต้น นกมีขนนกปกคลุมที่ผิวหนังเพื่อทำหน้าที่ในการบิน ส่วนปลาและสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู เป็นต้น มีเกล็ดปกคลุมผิวหนัง
ผิวหนังของมนุษย์โดยปกติแล้วจะมีขนเส้นเล็กมากปกคลุมอยู่ ซึ่งจะมองเห็นได้ยาก แต่บางคนมีขนดกหนา ทำให้สังเกตเห็นเส้นขนได้ง่ายขึ้น ผิวหนังของมนุษย์จะมีขนปกคลุมอยู่มากบริเวณที่เป็นข้อพับ เช่น ใต้วงแขน และอวัยวะเพศ และมีขนที่ขึ้นยาวและสังเกตเห็นได้ง่าย ได้แก่เส้นผมบนศีรษะ หนวดและเคราของผู้ชาย
ผิวหนังของสัตว์บางชนิดสามารถทำเป็นหนังที่ใช้ในอุตสาหกรรม โดยมักจะนำไปผลิต รองเท้า เสื้อผ้า กระเป๋า
ที่มาของข้อมูล  http://th.wikipedia.org/wiki/

อธิบาย   สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์     เซลล์พืชและเซลล์สัตว์แตกต่างกัน
ทั้งรูปร่างและรูปร่าง   แต่ที่สำคัญคือเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีส่วนประกอบที่สำคัญ
3 ส่วนที่เหมือนกัน ได้แก่ นิวเคลียส ไซโทพลาซึม และเยื่อหุ้มเซลล์
นิวเคลียส      มีรูปร่างค่อนข้างกลม ภายในมีสารที่ควบคุมลักษณะทาง
พันธุกรรมและควบคุมการทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์
    ไซโทพลาซึม      เป็นของกึ่งของเหลวที่มีส่วนประกอบเล็ก ๆ หลายชนิด
กระจายอยู่ทั่วไป ส่วนประกอบเหล่านี้ทำหน้าที่สำคัญหลายอย่างในกระบวนการ
ดำรงชีวิตของเซลล์  ในไซโทพลาซึมยังมีสารจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเซลล์
เช่น  น้ำตาล  โปรตีน  ละลายและแขวนลอยอยู่ รวมทั้งมีของเสียต่างๆ จาก
กิจกรรมของเซลล์ด้วย
      เยื่อหุ้มเซลล์      อยู่ด้านนอกสุดของเซลล์ ทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนต่างๆ
ที่อยู่ภายในเซลล์ แบ่งแยกขอบเขตของเซลล์จากสิ่งแวดล้อม และควบคุม
การลำเลียงของสารเข้าและออกจากเซลล์
ที่มาของข้อมูล   http://www.bwc.ac.th/Science/sumena/cell1.htm


ตอบ  1. ลดอันตรายเมทาบอริซึมและหลอดเลือดขยายตัว
อธิบาย เนื่องจากการออกกำลังกายทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น สมองส่วนไฮโพทาลามัสถูกกระตุ้นทำให้ลดเมทาบอริซึมที่เป็นการเผาผลาญอาหารเพื่อทำให้เกิดความร้อนและหลอดเลือดขยายตัว

ตอบ  3. น้ำนมแม่มีแอนติบอดี
อธิบาย  เนื่องจากในน้ำนมแม่จะมีแอนติบอดีและส่งผ่านมายังทารกโดยการทานนมแม่ ดังนั้นภูมิคุ้มกันแบบนี้จึงเป็นแบบรับมา

ตอบ 2. แอนติเจน
อธิบาย  แอนติบอดี คือ สารที่ร่างกายผลิตออกมาเพื่อใช้กำจัดเชื้อโรค
แอนติเจน คือ สารจากสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนจิบอดี
เอนไซม์ คือ ตัวเร่งปฎิกิริยาในสิ่งมีชีวิต
แอนติไบโอติก คือ ยาปฎิชีวนะ

ตอบ 3. ไมโอซิสที่มีการลดจำนวนโครโมโซม
อธิบาย  การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
1. แบ่งเพื่อสร้างเซลล์สืบพันธ์
2. มีการลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง
3. แบ่งจาก 1 เซลล์ ได้ 4 เซลล์

ตอบ  4. กรดนิวคลีอิก
อธิบาย  สารพันธุกรรมมีอยู่ 2 ชนิด คือ ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอทั้งสองชนิดนี้เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากการต่อกลับของกรดนิวคลีอิก

ตอบ  3.
อธิบาย ในเพสดีกรี สัญลักษณ์สี่เหลี่ยมแทนเพศชายและวงกลมแทนเพศหญิง ส่วนสีดำทึบหมายถึงคนเป็นโรคและสีขาวหมายถึงคนปกติ


ตอบ  3.
อธิบาย  ธาลัสซีเมียเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยืนที่อยู่บนโครโมโซมร่างกาย

ตอบ 1.
อธิบาย  ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในข้อ 17 ส่วนข้อที่เหลือนั้นเป็นความผิดปกติบนโครโมโซมเอ็กซ์

ตอบ 1
อธิบาย เนื่องจากตาบอดสีเป็นความผิดปกติบนโครโมโซม x และเพศชายมีโครโมโซมเป็น xy เมื่อโครโมโซม x ผิดปกติทำให้เป็นตาบอดสีได้เลย

ตอบ 3
อธิบาย  ดังนั้นโอกาสที่เป็นไปได้ คือ หมู่ A และ B


2 ความคิดเห็น:

  1. ประเมินผลงาน งานชิ้นนี้
    ทำครบตามที่กำหนด 40 คะแนน
    มีเฉลยให้ 20 คะแนน
    บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 40 คะแนน ( URL)
    วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้ 80 คะแนน

    รวมคะแนนผลงานชิ้นนี้ 180 คะแนน

    ตอบลบ
  2. ให้ 180 คะแนน
    คบทุกอย่าง

    ตอบลบ