กิจกรรมที่ 24-28 มกราคม 2554


ตอบ 3.
อธิบาย พลาสติก เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิดแข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียม ใช้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ส่วนประกอบเรือหรือรถยนต์
ที่มา th.wikipedia.org/wiki

ตอบ 1.
อธิบาย น้ำค้าง เกิดจากไอน้ำหรือความชื้นในอากาศที่จับตัวกันกลายเป็นหยดน้ำแล้วตกลงมาสู่พื้น น้ำค้างจะเกิดในเวลากลางคืน เพราะเป็นช่วงที่มีอุณหภูมิของอากาศในขณะนั้นต่ำ เมื่อถึงเวลากลางวันน้ำค้างที่หยดอยู่บนยอดหญ้า เมื่อได้รับแสงอาทิตย์ก็จะระเหยไปหมด ปริมาณความชื้นในอากาศ เราเรียกว่า ความชื้นสัมพัทธ์ ถ้าในอากาศที่มีความชื้นมากจะทำให้เรารู้สึกร้อนและเหนียวตัว แต่เมื่ออากาศหนาวมากน้ำค้างจะแข็งตัวเราเรียกว่า จุดน้ำค้างแข็ง จุดนี้ส่วนมากจะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มฤดูใบไม้ร่วงเพราะอุณหภูมิในช่วงกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก
โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดในโลกที่เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ในยุคอุตสาหกรรม ได้แก่  การตายหมู่ของประชาชนอินเดียผู้บริสุทธิ์ ที่อาศัยอยู่ในโบพาล  ทั้งหมดกว่า 3500 ชีวิต  ตายอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว  ซึ่งเป็นผลจากการรั่วไหลของก๊าซพิษที่ออกจากรอยร้าวของถังเก็บยามค่ำคืนของวันที่ 2  ธันวาคม  2527  ก๊าซดังกล่าวค่อยๆ กระจายออกไปคลุมรอบหมู่บ้าน  บริษัทที่ผลิตก๊าซดังกล่าว  ก็คือ  ยูเนี่ยนคาร์ไบด์  ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของอุตสาหกรรมเคมียักษ์ใหญ่อเมริกาที่ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
203.172.182.215/km/index.php?option=com_content&task

ตอบ 4.
อธิบาย การเกิดปฏิกิริยาเคมี
    
ถ้านักเรียนสังเกตรอบๆตัวเรา จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงใด เป็นการเกิดปฏิกิริยาเคมี ... มีข้อสังเกตในการเกิดปฏิกิริยาเคมี คือจะต้องมีสารใหม่เกิดขึ้นเสมอ สารใหม่ที่เกิดขึ้นจะต้องมีสมบัติเปลี่ยนไปจากสารเดิม... เช่น การเผาไหม้ของวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิง การย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร การสึกกร่อนของอาคารบ้านเรือน การบูดเน่าของอาหาร เป็นต้น
ปฏิกิริยาเคมีแบ่งออกได้  5  ชนิด ได้แก่
     1. ปฏิกิริยาการรวมตัว                        
A +Z         ------->           AZ

     2.
ปฏิกิริยาการสลายตัว                      
AZ            ------->           A +Z

     3.
ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงเดี่ยว            
A + BZ       ------->           AZ + B

     4.
ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงคู่                 
AX+BZ       ------->           AZ + BX

      5.
ปฏิกิริยาสะเทิน                            HX+BOH     ------->          BX + HOH

ที่มา http://www.tps.ac.th/~narin/basicchem/index_files/page0013.htm

ตอบ 2.
อธิบาย ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงานตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้นดังสมการ
แมกนีเซียมคืออะไร
แมกนีเซียม เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่ (Mineral) ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มเกลือแร่ที่มีมากในร่างกาย (Macronutrients หรือ Principal elements) ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะในโครงสร้างกระดูกมีธาตุ แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบประมาณ 25 กรัม หรืออาจมากกว่านี้ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ กล้ามเนื้อ สมองและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ แมกนีเซียม ส่วนใหญ่ในร่างกาย (60-70%) พบในกระดูก ส่วนที่เหลืออีก 30% พบในเนื้อเยื่ออ่อนและของเหลวในร่างกาย แมกนีเซียม มักอยู่ในของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ (Intracellular fluid) เช่นเดียวกับโพแทสเซียม ประมาณร้อยละ 35 ของแมกนีเซียมในเลือดจะรวมอยู่กับโปรตีน เด็กแรกเกิดมี แมกนีเซียม ต่ำ และเมื่อโตขึ้นจะมี แมกนีเซียม มากขึ้น
ที่มา http://www.healthdd.com/article/article_preview.php?id=43
www.maceducation.com/e-knowledge/2422210100/23.htm

ตอบ 4.
อธิบาย  สัญลักษณ์นิวเคลียร์ (nuclear symbol) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมด้วยเลขมวลและเลขอะตอม เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ดังนี้
โดยที่  X  คือ  สัญลักษณ์ธาตุ
            Z  คือ  เลขอะตอม (atomic number) เป็นจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส
            A  คือ  เลขมวล (mass number) เป็นผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน
สูตร   A = Z + N
โดยที่ N เป็นจำนวนนิวตรอน อะตอมของธาตุเป็นกลางทางไฟฟ้า (จำนวนโปรตอน = จำนวนอิเล็กตรอน)

ตอบ 1.
อธิบาย
โซเดียม (อังกฤษ: Sodium) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Na (จากคำว่า Natrium ในภาษาเยอรมัน[1]) และหมายเลขอะตอม 11 โซเดียมเป็นโลหะอ่อน มีลักษณะเป็นไข มีสีเงิน ทำปฏิกิริยาได้ว่องไว และอยู่ในกลุ่มโลหะอัลคาไล โซเดียมมีมากในสารประกอบทางธรรมชาติ (โดยเฉพาะเฮไลต์). โซเดียมทำปฏิกิริยาได้ว่องไวมาก ให้เปลวไฟสีเหลือง ออกซิไดส์ในอากาศและทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำ จึงจำเป็นต้องเก็บอยู่ในน้ำมัน

ตอบ 3.
อธิบาย เลขอะตอม (Atomic number)   หมายถึง  ตัวเลขที่แสดงถึงผลรวมจำนวนโปรตอนในอะตอมของธาตุ  ซึ่งมีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน  บางครั้งใช้สัญลักษณ์  Z
          เลขมวล  (Mass  number)  หมายถึงตัวเลขที่แสดงถึงผลรวมของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน บางครั้งใช้สัญลักษณ์  A
          เช่น       บอกได้ว่า  ธาตุ  มีเลขอะตอม  15  ( โปรตอน  =  15,  อิเล็กตรอน  =  15 )
                                                             มีเลขมวล  31  (นิวตรอน  =  16)      
                                                            เนื่องจากจำนวนนิวตรอน  เลขมวล  เลขอะตอม
                                                                                                    =  31  -  15     =  16
                           ดังนั้นจะได้ว่า     ===>     P  =  15 , e  =  15 , n  =  16 
                                                                  ===>     P =  19 , e  =  19  ,  n  =  20
                                                                    ===>     P =  92 , e  =  92  ,  n  =  143
ที่มา www.thaigoodview.com/library/.../2549/.../isotope.htm

ตอบ 1.
อธิบาย A = เลขมวล = จำนวนโปรตอน + นิวตรอน
                                            X = สัญลักษณ์ของธาตุ
                                            Z = เลขอะตอม = จำนวนโปรตอน
    1. เลขมวล (Mass Number) คือ เลขที่แสดงจำนวนโปรตอนและนิวตรอน
 2. เลขอะตอม (Atomic Number) คือ จำนวนโปรตอนภายในอะตอม
ที่มา www.thaigoodview.com/library/.../2549/.../isotope.htm

ตอบ 1.
อธิบาย ธาตุเคมี คือ อนุภาคมูลฐานของสสารหรือสารต่างๆที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นสสารอื่นได้อนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุเรียกว่า อะตอม ซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน
เลขอะตอมของธาตุ (ใช้สัญลักษณ์ Z) คือ จำนวนของโปรตอนในอะตอมของธาตุ ตัวอย่างเช่น เลขอะตอมของธาตุคาร์บอน นั้นคือ 6 ซึ่งหมายความว่า อะตอมของคาร์บอนนั้นมีโปรตอนอยู่ 6 ตัว ทุกๆอะตอมของธาตุเดียวกันจะมีเลขอะตอมเท่ากันเสมอ ซึ่งก็คือมีจำนวนโปรตอนเท่าๆกัน แต่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน ซึ่งเรียกว่า ไอโซโทปของธาตุ มวลของอะตอม (ใช้สัญลักษณ์ A) นั้นวัดเป็นหน่วยมวลอะตอม (unified atomic mass units; ใช้สัญลักษณ์ u) ซึ่งเท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอน และ นิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม ธาตุบางประเภทนั้นจะเป็นสารกัมมันตรังสี และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุชนิดอื่น เนื่องจากการสลายตัวทางกัมมันตภาพรังสี
ที่มา th.wikipedia.org/wiki/

ตอบ 3.
อธิบาย รังสีแกมมา(Gamma Ray) ใช้สัญลักษณ์ เกิดจากการที่นิวเคลียสที่อยู่ในสถานะกระตุ้นกลับสู่สถานะพื้นฐานโดยการปลดปล่อยรังสีแกมมาออกมา รังสีแกมมา ก็คือโฟตอนของการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับรังสีเอ็กซ์ แต่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าและมีอำนาจในการทะลุทะลวงสูงมากกว่ารังสีเอ็กซ์ ไม่มีประจุไฟฟ้าและมวล ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าและสนามแม่ เหล็กและ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าแสง
ที่มา www.rmutphysics.com/physics/oldfront/.../nuclear_9.htm
                                                                            
A  =  Z  +  n  (จำนวนนิวตรอน)

2 ความคิดเห็น:

  1. ประเมินผลงาน งานชิ้นนี้
    ทำครบตามที่กำหนด 20 คะแนน
    มีเฉลยให้ 10 คะแนน
    บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 20 คะแนน ( URL)
    วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้ 45 คะแนน

    รวมคะแนนผลงานชิ้นนี้ 95 คะแนน

    ตอบลบ