กิจกรรม 8-12 พ.ย.53 ข้อ 11 -20

ตอบ  2. เกิดได้ทั้งระดับโครโมโซมและดีเอ็นเอ
อธิบาย การเปลี่ยนแปลงรูปร่างโครงสร้างภายในของแต่ละโครโมโซม เป็นผลให้เกิดการสับเปลี่ยนตำแหน่งของยีนที่อยู่ในโครโมโซมนั้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจาก   
           
  1. การขาดหายไป(deletion หรือ deficiency) ของส่วนใดส่วนหนึ่งของโครโมโซม ทำให้ยีนขาดหายไปด้วย เช่น กรณีการเกิดโรคของกลุ่มอาการคริดูชาต์ โดยโครโมโซมคู่ที่ 5 เส้นหนึ่ง มีบางส่วนขาดหายไป       
  2. การเพิ่มขึ้นมา (duplication) โดยมีส่วนใดส่วนหนึ่งของโครโมโซม เพิ่มขึ้นมามากกว่าที่มีอยู่ปกติ       
  3. การเปลี่ยนตำแหน่งทิศทาง (inversion) โดยเกิดการสับเปลี่ยนตำแหน่งของยีนภายในโครโมโซมเดียวกัน เนื่องจากเกิดรอยขาด 2 แห่งบนโครโมโซมนั้น และส่วนที่ขาดนั้นไม่หลุดหายไป แต่กลับต่อเข้ามาใหม่ในโครโมโซมเดิมโดยสลับที่กัน       
  4. การเปลี่ยนสลับที่ (translocation) เกิดจากการแลกเปลี่ยนส่วนของโครโมโซมระหว่างโครโมโซมที่ไม่เป็นโฮโมโลกัสกัน                            

ตอบ 2. เป็นการสร้างสัตว์ตัวใหม่ไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธ์
อธิบาย เซลล์สืบพันธุ์ซึ่งเป็นผลสุดท้ายจากการเกิดเซลล์สืบพันธุ์ (gametogenesis) ในสิ่งมีชีวิตที่ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ แกมีตจะรวมเข้ากับแกมีตอื่นในการปฏิสนธิ (fertilization) กลายเป็นไซโกต (zygote) จากนั้นไซโกตจึงเจริญเป็นเอ็มบริโอ (embryo) หรือตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตนั้น แกมีตในเพศผู้เรียกว่า สเปิร์ม (sperm) ส่วนแกมีตในเพศเมียเรียกว่า โอวุม (ovum) ซึ่งมีขนาดใหญ่ว่าแกมีตของเพศผู้มาก

ตอบ 3. แบคทีเรียที่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน
อธิบาย 
แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแบบ
  • แบ่งตามรูปร่าง แบ่งได้หลายแบบทั้งกลม (cocci) ,แบบท่อน (bacilli,rod) ,แบบเกลียว (spiral) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีการจัดเรียงเซลล์ต่างกัน
  • แบ่งตามการย้อมติดสีแกรม (Gram's stain) มีได้สองลักษณะคือพวกที่ติดสีแกรมบวก (Gram positive) และที่ติดสีแกรมลบ (Gram negative) แต่บางชนิดสามารถติดสีทั้งสองเรียกว่า Gram variable ซึ่งเกี่ยวข้องกับผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
  • แบ่งตามความต้องการใช้อ๊อกซิเจน ซึ่งมีหลายแบบคือ aerobic bacteria, anaerobic bacteria, facultativeaerobic bacteria, microaerofilic bacteria เป็นต้น
  • แบ่งกลุ่มแบคทีเรียตามแหล่งอาหารและพลังงานได้เป็น
    • ออโตโทรป (autothroph) แหล่งคาร์บอนสำหรับสร้างสารอินทรีย์มาจาก CO2 ได้แก่แบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้
    • เฮเทอโรโทรป (heterothroph) แหล่งคาร์บอนมาจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ ได้แก่แบคทีเรียที่ดูดซับสารอาหารเป็นแหล่งพลังงานทั่วไป
    • โฟโตโทรป (photothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากแสง
    • คีโมโทรป (chemothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากสารเคมี

ตอบ 2. ลายนิ้วมือ
อธิบาย ดีเอ็นเอ (DNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อแบบเต็มว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน (Haman), สัตว์ (Animal), พืช (Plant), เชื้อรา (Fungi), แบคทีเรีย (bacteria), ไวรัส (virus) ( ไวรัส จะไม่ถูกเรียกว่าสิ่งมีชีวิตเป็นเพียงอนุภาคเท่านั้น) เป็นต้น ดีเอ็นเอ (DNA) บรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ (Parent) และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน (Offspring)
ดีเอ็นเอ (DNA) มีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดลิงที่บิดตัวทางขวา หรือบันไดเวียนขวา ขาหรือราวของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ ( Nucleotide ) นิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาล ( Deoxyribose Sugar ), ฟอสเฟต ( Phosphate ) (ซึ่งประกอบด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน) และไนโตรจีนัสเบส (Nitrogenous Base) เบสในนิวคลีโอไทด์มีอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (adenine, A) , ไทมีน (thymine, T) , ไซโทซีน (cytosine, C) และกัวนีน (guanine, G) ขาหรือราวของบันไดสองข้างหรือนิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่ A จะเชื่อมกับ T ด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะคู่ หรือ double bonds และ C จะเชื่อมกับ G ด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะสามหรือ triple bonds (ในกรณีของดีเอ็นเอ) และข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสในดีเอ็นเอนั่นเอง

ตอบ 2. เหยี่ยว
อธิบาย ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem)
                   ระบบนิเวศเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต   และสิ่งแวดล้อม  เพราะประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด  มีการแลกเปลี่ยนสสาร แร่ธาตุ และพลังงานกับสิ่งแวดล้อม  โดยผ่านห่วงโซ่อาหาร (food chain)  มีลำดับของการกินเป็นทอด ๆ ทำให้สสารและแร่ธาตุมีการหมุนเวียนไปใช้ในระบบจนเกิดเป็นวัฏจักร  ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานไปตามลำดับขั้นเป็นช่วง ๆในห่วงโซ่อาหารได้  การจำแนกองค์ประกอบของระบบนิเวศ ส่วนใหญ่จะจำแนกได้เป็นสององค์ประกอบใหญ่ ๆ คือ องค์ประกอบที่มีชีวิตและองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต

ตอบ 1. แบบปฐมภูมิ
อธิบาย ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐาน (โดยทั่วไป คือ ภูเขา) ที่หินหนืด (หินภายในโลกที่ถูกหลอมเหลวด้วยความดันและอุณหภูมิสูง) ปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ แม้ว่าเราจะสามารถพบภูเขาไฟได้หลายแห่งบนดาวเคราะห์หินและดาวบริวารในระบบสุริยะ แต่บนโลก ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า ภูเขาไฟจุดร้อน

ตอบ 4. ความหลากหลายของของสารเคมีต่าง ๆ รอบสิ่งมีชีวิต
อธิบาย ความหลากหลายทางชีวภาพ (อังกฤษ: Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (อังกฤษ: Species) สายพันธุ์ (อังกฤษ: Genetic) และระบบนิเวศ (อังกฤษ: Ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก
ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ
ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น

ตอบ 1. พลังงานน้ำ
อธิบาย พลังงานน้ำ เป็นรูปแบบหนึ่งการสร้างกำลังโดยการอาศัยพลังงานของน้ำที่เคลื่อนที่ ปัจจุบันนี้พลังงานน้ำส่วนมากจะถูกใช้เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้แล้วพลังงานน้ำยังถูกนำไปใช้ในการชลประทาน การสี การทอผ้า และใช้ในโรงเลื่อย พลังงานของมวลน้ำที่เคลื่อนที่ได้ถูกมนุษย์นำมาใช้มานานแล้วนับศตวรรษ โดยได้มีการสร้างกังหันน้ำ (Water Wheel) เพื่อใช้ในการงานต่างๆ ในอินเดีย และชาวโรมันก็ได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อใช้ในการโม่แป้งจากเมล็ดพืชต่างๆ ส่วนผู้คนในจีนและตะวันออกไกลก็ได้มีการใช้พลังงานน้ำเพื่อสร้าง Pot Wheel เพื่อใช้ในวิดน้ำเพื่อการชลประทาน โดยในช่วงทศวรรษ 1830 ซึ่งเป็นยุคที่การสร้างคลองเฟื่องฟูถึงขีดสุด ก็ได้มีการประยุกต์เอาพลังงานน้ำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนเรือขึ้นและลงจากเขา โดยอาศัยรางรถไฟที่ลาดเอียง (Inclined Plane Railroad : Funicular)โดยตัวอย่างของการประยุกต์ใช้แบบนี้ อยู่ที่คลอง Tyrone ในไอร์แลนด์เหนือ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประยุกต์ใช้พลังงานน้ำในยุคแรกนั้นเป็นการส่งต่อพลังงานโดยตรง (Direct Mechanical Power Transmission) ทำให้การใช้พลังงานน้ำในยุคนั้นต้องอยู่ใกล้แหล่งพลังงาน เช่น น้ำตก เป็นต้น ปัจจุบันนี้ พลังงานน้ำได้ถูกใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งต่อพลังงานไปใช้ในที่ที่ห่างจากแหล่งน้ำได้

ตอบ 2.จำนวนของแพลงตอนพืช สาหร่าย และพืชน้ำจะเพิ่มขึ้น
อธิบาย แร่ฟอสเฟตเป็นสารประกอบที่มีฟอสเฟต (PO4) อยู่ด้วยหรือมีธาตุฟอสฟอรัส (P) ซึ่งเป็นธาตุหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำปุ๋ย แร่ฟอสเฟตที่พบอยู่ในประเทศไทยมี 3 ชนิด
  
        
แหล่งแร่ฟอสเฟตพบกัวโน เป็นแหล่งแร่ที่เกิดจากการสะสมมูลนก มูลค้างคาวในบริเวณเขาหินปูน เช่นพบที่เขาอีตุ้มบ้านกาญจน์ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ที่บ้านสบเมย อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เขาพนมวังค์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และที่เขาชะโงก เขาเทพพนม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์
  
         แหล่งแร่อะลูมิเนียมฟอสเฟต เป็นแหล่งแร่ฟอตเฟสที่เกิดในชั้นหินทราย แร่อะลูมิเนียมฟอสเฟตที่พบ คือ แร่วาริสไคต์ (variscite;Fe-Al phosphate) เช่น พบที่บ้านเหล่าขาม อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด


ตอบ 1. พะยูน ช้าง
2. ควายป่า กระทิง วัวแดง
อธิบาย  พะยูน ลักษณะ ไม่ใช่ปลาแต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ตามท้องทะเลชายฝั่ง ไม่มีครีบหลัง น้ำหนักประมาณ 300 ก.ก. อยู่รวมกันเป็นครอบครัว หลายครอบครัวจะมาหากินรวมกันเป็นฝูงใหญ่ กินพืชจำพวกหญ้าทะเลตามชายฝั่ง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องป ระมาณ 1 ปี ควายป่า ลักษณะ รูปร่างปราดเปรียวและขนาดลำตัวใหญ่กว่าควายบ้าน ความสูงที่ไหล่ 1.6 - 1.9 เมตร หนักประมาณ 800 - 1,200 ก.ก. ชอบนอนแช่ปลักให้ดินโคลนพอกลำตัว เพื่อป้องกันแมลงรบกวน มีนิสัยชอบอยู่เป็นฝูง จะดุร้ายมากถ้าบาดเจ็บ กินใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องประมาณ 10 เดือน

2 ความคิดเห็น:

  1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน ถ้ามีแต่โจทย์ไม่วิเคราะห์ให้ข้อละ 1 คะแนน
    มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน ( URL)
    วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม
    ให้คะแนนเพื่อน77คะแนน

    ตอบลบ
  2. ให้ 76 คะแนน
    ขาดที่มาอย่างเดียว
    ทุกอย่างครบ

    ตอบลบ