กิจกรรม 8 พฤศจิกายน 2553

อธิบาย  เซลล์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นโพรแคริโอตหรือยูแคริโอตจะต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ทำหน้าที่ห่อหุ้มเซลล์เสมอ เพื่อแยกส่วนประกอบภายในเซลล์ออกจากสิ่งแวดล้อม เป็นการควบคุมการขนส่งสารเข้าออกเซลล์ และเพื่อรักษาความต่างศักย์ทางไฟฟ้าของเซลล์ (cell potential) ภายในเยื่อหุ้มเซลล์จะประกอบไปด้วย ไซโทพลาซึมที่มีสภาพเป็นเกลือ และเป็นเนื้อที่ส่วนใหญ่ของเซลล์ ภายในเซลล์จะมี ดีเอ็นเอ หน่วยพันธุกรรมของเซลล์หรือยีน และ อาร์เอ็นเอชึ่งจะมีข้อมูลที่จำเป็นในการถ่ายทอดพันธุกรรม รวมทั้งโปรตีนต่างๆ เช่น เอนไซม์ นอกจากนี้ภายในเซลล์ก็ยังมีสารชีวโมเลกุล (biomolecule) ชนิดต่างๆ อีกมากมาย
ที่มาของข้อมูล  http://th.wikipedia.org/wiki/

อธิบาย ในสภาพที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไปหรือร่างกายขาดน้ำจะมีผลทำให้น้ำในเลือดน้อยหรือแรงดันออสโมติกของเลือดสูง(เลือดมีความเข้มข้นสูง) เลือดที่มีแรงดันออสโมติกสูงนี้เมื่อผ่านเข้าไปที่ไฮโปทาลามัส จะไปกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนท้ายให้หลั่งฮอร์โมน ADH หรือฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก(antidiuretic hormone) เข้าสู่กระแสเลือด แล้วไปกระตุ้นท่อของหน่วยไตให้ดูดน้ำกลับคืนเข้าสู่กระแสเลือดทำให้ปริมาณของน้ำในเลือดสูงขึ้น และร่างกายมีการขับถ่ายน้ำปัสสาวะลดลงและเข้มข้นขึ้น
           ในทางตรงข้าม ถ้าเลือดมีปริมาณน้ำมากหรือแรงดันออสโมติกของเลือดต่ำ (เลือดมีความเข้มข้นต่ำ) จะไปยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน ADH ออกมา ท่อของหน่วยไตและท่อรวมจะดูดน้ำกลับคืนน้อยลง ปริมาณน้ำปัสสาวะย่อมมีมากขึ้น ร่างกายจึงขับถ่ายปัสสาวะมากและเจือจางนอกจากนี้ร่างกายมีกลไกที่จะลดการสูญเสียน้ำด้วยกระบวนการดูดกลับที่ท่อของหน่วยไตและมีกลไกที่จะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดความต้องการน้ำเพื่อรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายโดยเมื่อร่างกายมีการสูญเสียน้ำออกจากร่างกายมากๆและภาวะขาดน้ำของร่างกายจะไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมการกระหายน้ำที่ไฮโพทาลามัส ซึ่งทำให้เิกิดความรู้สึกหรืออาการกระหายน้ำขึ้นมาความรู้สึกกระหายน้ำจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ตราบเท่าที่ร่างกายยังมีการสูญเสียน้ำออกจากร่างกายเรื่อยๆ
ที่มาของข้อมูล   http://www.konmun.com/Article/id3939.aspx

อธิบาย  หมายถึงเครื่องดื่มที่มีเอทิลแอลกอฮอล์ผสมอยู่ ได้แก่ สุรา และเมรัย แอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ที่กินเหล้าในปริมาณไม่มาก จะรู้สึกผ่อนคลาย เนื่องจากแอลกอฮอล์ไปกดจิตใต้สำนึกที่คอยควบคุมตนเองอยู่ แต่เมื่อกินมากขึ้นก็จะกดสมองบริเวณอื่นๆ ทำให้เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด จนแม้กระทั่งหมดสติในที่สุด
เครื่องดื่มชนิดนี้ผลิตจากวัตถุดิบที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลมาหมัก และเติมยีสต์ลงไปเพื่อให้ยีสต์กินน้ำตาลที่อยู่ในวัตถุดิบ และเปลี่ยนให้กลายเป็นแอลกอฮอล์
ที่มาของข้อมูล  http://th.wikipedia.org/wiki/

อธิบาย  กรด คือสารละลายอันเกิดจากสารประกอบชนิดใดก็ได้ที่สามารถละลายน้ำได้ ซึ่งมีความไวปฏิกิริยาของไฮโดรเจนไอออน (H+) มากกว่าน้ำ นั่นคือมีค่า pH น้อยกว่า 7 การทดสอบความเป็นกรดสามารถทำได้โดยใช้กระดาษลิตมัส ถ้ากระดาษกลายเป็นสีส้ม-สีแดงแสดงว่าสารละลายนั้นเป็นกรด
ที่มาของข้อมูล   http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94

อธิบาย    สิ่งมีชีวิตที่เป็นสาเหตุของโรคพืช ได้แก่ ไวรัส (virus) ไมโคพลาสมา (mycoplasma or mycoplasmalike organism) แบคทีเรีย (bacteria) รา (fungi) ไส้เดือนฝอย (nematode) และพืชชั้นสูงที่เป็นปรสิต (higher plant parasites) ได้แก่ กาฝาก (mistletoes) และฝอยทอง (dodders

ที่มาของข้อมูล  http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2404


อธิบาย    เป็นสารโปรตีนอยู่ในส่วนที่เป็นของเหลว
          ของร่างกาย สร้างจากเม็ดเลืือดขาวชนิด ลิมโฟไซต์  เมื่อมีแอนติเจน
เข้าสู้ร่าง
          กายแอนติบอดี้ชนิดต่างๆ จะมาจับแอนติเจนอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นชนิดๆไป
          ซึ่งจะมีปฏิกิริยาแตกต่างกัน
จะปล่อยสารที่เป็นพิษต่อต้านแอนติเจน โดยแอนติ
ิ          บอดีจะจับกับโมเลกุลของสารพิษ  ที่แอนติเจนปล่อยออกมากลายเป็นสารประ
          กอบเชิงซ้อน 
ของ แอนติเจนกับแอนติบอดีที่เรียกว่าสารประกอบแอนติเจน
          แอนติบอดี  แอนติบอดีชนิดแอกกลูตินินจะจับแบคทีเรีย  หรือเชื้อไวรัสซึ่งเป็น
          แอนติเจน
แอนติบอดีอีกชนิดหนึ่ง ชื่อว่า ไลซินจะฆ่าแอนติเจนหรือเชื้อโรคโดย
          การสลายเยื้อหุ้มเซลล์ชั้นนอกให้เปลี่ยนเป็นสารที่เรียกว่าไฟบรินซึ่งเป็นเส้นใย
          สานเป็นร่างแหเป้นลิ่มคล้ายก้อนวุ้น
ที่มาของข้อมูล   http://iamblueblood.exteen.com/20080820/entry-2
อธิบาย  น้ำเกลือ (อังกฤษ: saline water) เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ใช้เรียกน้ำที่มีความหนาแน่นของสารละลาย เกลือ (NaCl) สูงเป็นพิเศษ
ระดับความหนาแน่นของเกลือที่ใช้ในการวิจัยทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯแบ่งน้ำเกลือออกเป็นสามประเภทหลักๆด้วยกัน น้ำเกลือเบาบางมีเกลืออยู่ระหว่าง 1,000 และ 3,000 มก./ล. น้ำเกลือปานกลางมีส่วนผสมของเกลืออยู่โดยประมาณ 3,000 ถึง 10,000 มก./ล. น้ำเกลือแบบเข้มข้นสูงมีส่วนผสมของเกลือระหว่าง 10,000 และ 35,000 มก./ล. น้ำทะเลมีความเข้มข้นของเกลืออยู่ที่ประมาณ 3,000,000 หรือเทียบเท่ากับ 35 ก./ล.
เนื่องจากว่าในบางพื้นที่ของโลกขาดน้ำจืด การกลั่นน้ำจึงจำเป็นเพื่อทำให้น้ำสามารถนำมาดื่มได้ ในบางกรณีแพทย์ได้ใช้น้ำเกลือที่ผ่านการทำความสะอาดแล้วมาใช้ในการเยียวยารักษาคนไข้เช่นเดียวกัน
ตามปกติแล้ว น้ำเกลือที่มีส่วนผสมของเกลือสูงปานกลางหรือสูงตามที่กล่าวไว้เบื้องต้น ไม่มีประโยชน์กับมนุษย์สักเท่าใด มนุษย์ไม่อาจดื่มน้ำเกลือจำพวกนี้หรือนำน้ำเกลือไปรดพืชได้
ที่มาของข้อมูล  th.wikipedia.org/wiki/

อธิบาย  
ที่มาของข้อมูล   th.wikipedia.org/wiki/
อธิบาย   พ่อ แม่กรุ๊ปเลือดใด จะมีลูก ที่มีเลือดกรุ๊ปใดได้บ้า
ให้นึกภาพว่ายีนส์ ของคนนั้นจะมีสองอันประกบกันเป็นคู่ อันนึงได้จากแม่ อีกอันได้จากพ่อ และจะแยกตัว ออกเป็นสองข้าง ในเซลสืบพันธ์ เพื่อไปจับคู่กับอีกครึ่งหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม

ลักษณะของยีนส์ ในกรุ๊ปเลือดต่างๆ (โดยยีนส์นั้นเป็นตัวกำหนดให้ร่างกายสร้าง Antigen นั้นๆบนผิวเม็ดเลือดแดง)
   
Group A    = มียีนส์ AO หรือ AA
   Group B    = มียีนส์ BO หรือ BB
   Group AB  = มียีนส์AB
   Group O    = มียีนส์ OO

ที่มาของข้อมูล   http://www.thaikidclinic.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=471368&Ntype=6

อธิบาย  โรคธาลัสซีเมีย คือ โรคซีดชนิดหนึ่งที่สามารถติดต่อได้โดยทางกรรมพันธุ์ และมีการสร้างฮีโมโกลบิน ทำให้เม็ดเลือแดงมีลักษณะผิดปรกติและแตกง่าย ก่อให้เกิดอาการซีด เลือดจางเรื้อรัง และมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นโรคนี้จะได้รับยีนที่ผิดปรกติของพ่อ และแม่
ที่มาของข้อมูล    http://www.thalassemia.or.th/1.htm
ดีเอ็นเอ (อังกฤษ: DNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, เชื้อรา, แบคทีเรีย, ไวรัส เป็นต้น ดีเอ็นเอบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน
ดีเอ็นเอมีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดลิงที่บิดตัว ขาของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) นิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาล, ฟอสเฟต (ซึ่งประกอบด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน) และเบส (หรือด่าง) นิวคลีโอไทด์มีอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (adenine, A) , ไทมีน (thymine, T) , ไซโทซีน (cytosine, C) และกัวนีน (guanine, G) ขาของบันไดสองข้างหรือนิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่ A จะเชื่อมกับ T และ C จะเชื่อมกับ G เท่านั้น (ในกรณีของดีเอ็นเอ) และข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสในดีเอ็นเอนั่นเอง
ผู้ค้นพบดีเอ็นเอ คือ ฟรีดริช มีเชอร์ ในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) แต่ไม่ทราบว่ามีโครงสร้างอย่างไร จนในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก เป็นผู้ไขความลับโครงสร้างของดีเอ็นเอ และนั่นนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ในประเทศไทย มีนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อ ดีเอ็นเอเขียนโดยวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์

2 ความคิดเห็น:

  1. ประเมินผลงาน งานชิ้นนี้
    ทำครบตามที่กำหนด 40 คะแนน
    มีเฉลยให้ 20 คะแนน
    บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 40 คะแนน ( URL)
    วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้ 80 คะแนน

    รวมคะแนนผลงานชิ้นนี้ 180 คะแนน

    ตอบลบ