กิจกรรม 29 พ.ย.-3 ธ.ค.2553



ตอบ 3.
อธิบาย 2.ลักษณะของปัสสาวะผิดปกติที่พบบ่อย1. ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria) หมายถึง การมีเม็ดเลือดเเดงปนออกมาในปัสสาวะ
ซึ่งจะต้องซักถามให้ชัดเจนว่า ปัสสาวะมีสีแดงเหมือนน้ำล้างเนื้อหรอเป็นเลือดชัดเจน การมีเลีอดปน
มาในปัสสาวะมักพบว่า มีพยาธิสภาพเกี่ยวข้องกับไต
2. มีน้ำตาลในปัสสาวะ (glycosuria) หมายถึง ภาวะที่มีน้ำตาลขับออกมาในปัสสาวะมากผิดปกติ
หากตรวจพบว่า มีน้ำตาลในปัสสาวะ แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน
3. มีโปรตีนในปัสสาวะ (proteinuria) หมายถึงการตรวจพบอัลบูมิน (albumin) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิด
หนึ่งในปัสสาวะซึ่งแสดงว่ามีพยาธิสภาพจากโรคไตอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
4. มีคีโตนในปัสสาวะ (Ketonuria) คีโตนเป็นสารที่ได้จากการเผาผลาญไขมันให้มาเป็นพลังงาน
แทนพลังงานได้จากกลูโคส พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีหรือไม่ได้รับการรักษา
ต่อเนื่อง และผู้ที่ขาดอาหารอย่างรุนแรง ผู้ป่วยจะอยู่ในภาวะเป็นกรดเรียกว่า metabolic acidosis และพบ
คีโตนถูกขับออกมาทางปัสสาวะ หากไม่ได้รับการรักษาจะหมดสติป็และตายได้
5. ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ำตาลของบิลิรูบิน (bilirubinuria) หมายถีงมีการอุดตันของท่อน้ำดีจากตับสู่
ลำไส้เล็ก ทำให้น้ำดีไหลย้อนกลับ และถูกตับเปลี่ยนสภาพให้เป็นเกลีอชนิดทีสามารถละลายน้ำได้ขับออกมาทาง
ปัสสาวะ จึงทำให้ปัสสาวะมีสีน้ำตาลเข้มของน้ำดี

ตอบ 1. 0.4 โมลาร์
อธิบาย เม็ดเลือดแดง (อังกฤษ: red blood cell , Erythrocyte : มาจากภาษากรีก โดย erythros แปลว่า "สีแดง" kytos แปลว่า "ส่วนเว้า" และ cyte แปลว่า "เซลล์") มีหน้าที่ในการส่งถ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
เม็ดเลือดแดงมีขนาดประมาณ 6-8 ไมครอน มีลักษณะค่อนข้างกลม เว้าบริเวณกลางคล้ายโดนัท ไม่มีนิวเคลียส มีสีแดง เนื่องจากภายในมีสารฮีโมโกลบิน โดยในกระแสเลือดคนปกติจะพบเม็ดเลือดแดงที่เจริญเติบโตเต็มที่ (Mature red cell) มีเพียงไม่เกิน 2% ที่สามารถพบเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte) ได้

ตอบ 1.
อธิบาย  น้ำเลือด: ลำเลียงสารอาหารไปให้เซลล์ในร่างกายและรับเอาของเสียกลับออกมา ทั้งยังเป็นตัวกลางในการลำเลียงฮอร์โมนไปยังอวัยวะเป้าหมายด้วย

          เกล็ดเลือด: ทำหน้าที่ร่วมกับแฟกเตอร์การแข็งตัวของเลือดเพื่อทำการห้ามเลือด

          เม็ดเลือดแดง: ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์และรับคาร์บอนไดออกไซด์กลับออกมา

          เม็ดเลือดขาว: ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรค


ตอบ 4. เยื่อหุ้มเซลล์พารามีเซียม
อธิบาย พารามีเซียม Parameciumเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็ก สามารถพบอาศัยในได้แหล่งน้ำจืดตามธรรมชาติ มองดูด้วยตาเปล่าแทบจะมองไม่ออกว่าอะไร
แต่ว่าเจ้าลูกปลากัดตัวเล็กๆของเรานั้นมองเห็นครับ
ถ้าส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ก็จะพบว่ามีรูปร่างลักษณะคล้ายกับรองเท้าแตะ บางคนก็ว่าเหมือนลูกรักบี้ บ้างก็ว่าเหมือนใบไม้แห้ง แต่บางคนเมื่อเห็นการเคลื่อนที่ของพารามีเซียมแล้วก็อาจจะทำให้นึกถึงกระสวยอวกาศ หรือลูกข่างก็เป็นไปได้ สุดแต่จะจินตนาการกันไป
แต่ผมว่าลูกปลากัดเราคงมองเป็น ขนมปังฝรั่งเศสก็ได้ อย่าไปสนใจเลยครับว่ารูปร่างหน้าตามันจะเป็นยังไง ขอแค่
ปลาเรากินเข้าไปแล้วมันเจริญเติบโตได้ดีและมีประโยชน์ไม่มีพิษก็พอ
ว่าแต่เราจะเพาะมันได้ยังไง
อย่างแรกเลยก็ต้องดูว่าเจ้าตัวนี้มันกินอะไรก่อน เราจะได้หาอาหารให้มันกินได้ถูก
อาหารของพารามีเซียมก็ ได้แก่ แบคทีเรีย เศษเนื้อเยื่อของสัตว์ต่างๆ โพรโตซัวอื่นๆ รวมถึงเป็นพวกที่สามารถใช้สารอาหาร ( หรือ nutrients) ที่ละลายอยู่ในแหล่งน้ำ มาใช้ประโยชน์ได้โดยตรงอีกด้วย


ตอบ 4. จ และ ช
อธิบาย ในของเหลวที่ร่างกายรับเข้าและที่ขับออกมานั้น นอกจากจะประกอบด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ ยังมีเกลือแร่และสารต่างๆ อยู่ด้วย แม้ว่าสารเหล่านี้จะมีปริมาตรน้อยนิดเมื่อเทียบกับปริมาตรของน้ำ แต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง และร่างกายต้องรักษาสมดุลต่างๆ ดังกล่าวไว้ให้ได้เพื่อให้ระบบต่างๆ ทำงานได้อย่างปกติ อวัยวะสำคัญในการรักษาดุลยภาพของน้ำและสารต่างๆ ในร่างกายคือไต ซึ่งมีโครงสร้างและการทำงานร่วมกับอวัยวะอื่น

ตอบ 4.การมีปากใบด้านหลังใบของผัตบชวา
อธิบาย  ผักตบชวา สามารถอยู่ได้ทุกสภาพน้ำ ทั้งในน้ำสกปรกและน้ำสะอาด เจริญเติบโตได้ดีที่ pH 4-10 และอุณหภูมิของน้ำไม่สูงกว่า 34 Co และในต้นพืชจะมีน้ำเฉลี่ยประมาณร้อยละ 95 (ในใบร้อยละ 89 และในก้านใบร้อยละ 96.7) ผักตบชวาช่วยในการบำบัดน้ำเสีย โดยอาศัยคุณสมบัติทำหน้าที่เป็นตัวกรอง ผักตบชวาที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น เปรียบได้กับการบรรจุวัสดุพรุน ซึ่งกรองน้ำที่ไหลผ่านกอผักตบชวาอย่างช้าๆ จึงทำให้ของแข็งแขวนลอยต่างๆ ที่ปนอยู่ในน้ำถูกสกัดกั้น นอกจากนั้น ระบบรากที่มีจำนวนมาก ช่วยกรองสารอินทรีย์ที่ละเอียด และจุลินทรีย์ที่อาศัยเกาะอยู่ที่ราก ช่วยดูดสารอินทรีย์ไว้ด้วยอีกทางหนึ่ง รากผักตบชวาจะดูดสารอาหารที่อยู่ในน้ำ ลำเลียงไปยังใบเพื่อสังเคราะห์แสง ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำเสียจึงถูกกำจัดไป อย่างไรก็ตามไนโตรเจนในน้ำเสียนั้น

ตอบ 4. ต่อมหมวกไต
อธิบาย ต่อมไร้ท่อ หมายถึงต่อมไม่มีท่อ สิ่งที่หลั่งจากต่อมเหล่านี้เข้าสู่กระแสเลือดไหลเวียนโดยตรง ไม่ต้องผ่านท่อ ดังนั้นเซลล์ของต่อมไร้ท่อจะสัมผัสกับหลอดเลือดฝอยภายในต่อมอย่างใกล้ชิด
ต่อมเหล่านี้จึงมีเลือดมาเลี้ยงอย่างมากมาย
          ต่อมเดียวกันอาจมีทั้งต่อมไร้ท่อและต่อมมีท่ออยู่ด้วยกันเช่น ตับอ่อน อัณฑะ และรังไข่ ตับอ่อนหลั่งน้ำย่อยผ่านท่อไปสู่ดูโอดีนัม และขณะเดียวกันกลุ่มเซลล์ของตับอ่อน (islets oflangerhans)
ก็หลั่งฮอร์โมนสู่กระแสเลือดโดยตรง อัณฑะก็สร้างตัวอสุจิผ่านออกไปทางท่อ แต่ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มเซลล์เลย์ดิก (cells of Leydig) สร้างฮอร์โมนเพศสู่กระแสโลหิต
        ต่อมไร้ท่อสร้างสารเคมีซึ่งมักจะเรียกว่า ฮอร์โมน ซึ่งจะไปควบคุมหรือดัดแปลงสมรรถภาพของเซลล์ของอวัยวะอื่นๆ ผลของมันอาจไปกระตุ้นหรือยับยั้งก็ได้


ตอบ  4. นกกระจิบ
อธิบาย  เป็นนกขนาดเล็ก ยาวประมาณ 13 เซนติเมตร (จากปลายปากถึงปลายหาง) ลำตัวสีน้ำตาล ข้างแก้มสีขาว ข้างหูและใต้คอ สีดำ ตัวผู้สีสดใสกว่าตัวเมียเล็กน้อย อยู่รวมกันเป็นฝูง ใกล้บริเวณที่คนอยู่ ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงระดับความสูง 1,800 เมตร ทำรังตามใต้หลังคาบ้าน หรือตามหลืบตามซอก ขยายพันธุ์ได้ตลอดปี วางไข่ครั้งละ 3-5 ฟอง ใช้เวลาฟักประมาณ 13 วัน ออกจากไข่แล้วประมาณ 14 วัน จะบินได้

ตอบ 2. แวคิวโอล
อธิบาย  แวลคิวโอล มีลักษณะเป็นถุงที่มีเยื่อหุ้ม สำหรับเวสิเคิลที่มีขนาดใหญ่อาจเรียกว่าแวคิวโอล แวคิวโอลมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน แวคิวโอลมีหลายชนิดทำหน้าที่แตกต่างกันไป คือ คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อะมิบา พารามีเซียม เป็นต้น ฟูดแวคิวโอล ทำหน้าที่บรรจุอาหารที่รับมาจากภายนอกเซลล์เพื่อย่อยสลายต่อไป  พบในเซลล์เม็ดเลือดขาวและสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว แวคิวโอลพบในเซลล์พืช เรียกว่า แซบแวคิวโอล ขณะที่เซลล์พืชอายุน้อยมีแวคิวโอลขนาดเล็กจำนวนมาก แต่เมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้น แวคิวโอลเหล่านี้จะรวมเป็นถุงเดียวกันทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำหน้าที่สะสมสารบางชนิด เช่น สารสี ไอออน น้ำตาล กรดอะมิโน ผลึกและสารพิษต่างๆ                            

ตอบ  3. ก และ ค
อธิบาย  พันธุกรรม (heredity) คือ  สิ่งที่ได้รับถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ และสิ่งที่ถ่ายทอดส่งต่อ  จาก
รุ่นหนึ่ง ไปยังอีกรุ่นหนึ่ง พันธุกรรมจะถูกควบคุมโดยหน่วยควบคุมลักษณะที่เรียกว่ายีนยีนจะมีอยู่เป็น
จำนวนมาก ในเซลล์ทุกเซลล์และจัดเรียงตัวเป็นแถวเป็นกลุ่มจับตัวเป็นเส้นยาว เรียกว่า โครโมโซม
ลักษณะที่แสดงออก และถูกถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไป แบ่งเป็นประเภทคือ ลักษณะทางคุณภาพ และ
ลักษณะทางปริมาณลักษณะทางคุณภาพเป็นลักษณะที่ควบคุมโดย ยีนน้อยคู่ เช่น ลักษณะสีของขน
ลักษณะมีเขาหรือไม่มีเขา   และลักษณะผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมลักษณะทางปริมาณ   เป็น
ลักษณะที่ควบคุมโดยยีนหลายคู่ ส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่สำคัญ ทางเศรษฐกิจ เช่น ส่วนประกอบใน
น้ำนม ลักษณะปรากฏถูกกำหนดโดย อิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม


1 ความคิดเห็น: